ค้นหาขั้นสูง
“ประเภทกิจการ”

ผลลัพธ์การค้นหา 9 รายการ

Icon
20
10.2564
วันที่ 20 กันยายน 2564 นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สนพ. ประธานเปิดการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการคัดแยกประเภทขยะ
วันที่ 20 กันยายน 2564 นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สนพ. ประธานเปิดการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการคัดแยกประเภทขยะ เพื่อให้พนักงานได้ทบทวนองค์ความรู้ในด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อสอดคล้องวัฒนธรรมองค์กร SMART - ECO ณ ห้องประชุมอุทัย สนพ.
ประเภท: ข่าวประชาสัมพันธ์
เมนู: ประชาสัมพันธ์
Image Icon
0
Image Icon
0
Icon
20
10.2564
วันที่ 20 กันยายน 2564 นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สนพ. ประธานเปิดการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการคัดแยกประเภทขยะ
วันที่ 20 กันยายน 2564 นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สนพ. ประธานเปิดการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการคัดแยกประเภทขยะ เพื่อให้พนักงานได้ทบทวนองค์ความรู้ในด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อสอดคล้องวัฒนธรรมองค์กร SMART - ECO ณ ห้องประชุมอุทัย สนพ.
ประเภท: ข่าวประชาสัมพันธ์
เมนู: ประชาสัมพันธ์
Image Icon
0
Image Icon
0
Icon
20
10.2564
วันที่ 20 กันยายน 2564 นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สนพ. ประธานเปิดการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการคัดแยกประเภทขยะ
วันที่ 20 กันยายน 2564 นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สนพ. ประธานเปิดการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการคัดแยกประเภทขยะ เพื่อให้พนักงานได้ทบทวนองค์ความรู้ในด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อสอดคล้องวัฒนธรรมองค์กร SMART - ECO ณ ห้องประชุมอุทัย สนพ.
ประเภท: ข่าวประชาสัมพันธ์
เมนู: ประชาสัมพันธ์
Image Icon
0
Image Icon
0
Icon
20
10.2564
วันที่ 20 กันยายน 2564 นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สนพ. ประธานเปิดการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการคัดแยกประเภทขยะ
วันที่ 20 กันยายน 2564 นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สนพ. ประธานเปิดการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการคัดแยกประเภทขยะ เพื่อให้พนักงานได้ทบทวนองค์ความรู้ในด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อสอดคล้องวัฒนธรรมองค์กร SMART - ECO ณ ห้องประชุมอุทัย สนพ.
ประเภท: ข่าวประชาสัมพันธ์
เมนู: ประชาสัมพันธ์
Image Icon
0
Image Icon
0
Icon
20
10.2564
วันที่ 20 กันยายน 2564 นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สนพ. ประธานเปิดการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการคัดแยกประเภทขยะ
วันที่ 20 กันยายน 2564 นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สนพ. ประธานเปิดการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการคัดแยกประเภทขยะ เพื่อให้พนักงานได้ทบทวนองค์ความรู้ในด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อสอดคล้องวัฒนธรรมองค์กร SMART - ECO ณ ห้องประชุมอุทัย สนพ.
ประเภท: ข่าวประชาสัมพันธ์
เมนู: ประชาสัมพันธ์
Image Icon
0
Image Icon
0
Icon
22
09.2564
วันที่ 22 มีนาคม 2564
กนอ.-JICA โชว์ผลสำเร็จการบริหารจัดการมลพิษอากาศนิคมฯมาบตาพุด ผ่าน“นวัตกรรมเครื่องเก็บตัวอย่างกลิ่น” นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มอบหมายให้สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด รับมอบ”นวัตกรรมเก็บตัวอย่างกลิ่น” จาก (JICA) ภายใต้โครงการ ”Community Participated VOCs/Odor Monitoring การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการเฝ้าระวังด้านกลิ่น และ VOCs ในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยนายฉกาจ พัฒนศรี ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มอบหมายให้นายธวัชศักดิ์ เกิดมณี ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พร้อมเจ้าหน้าที่ รับมอบนวัตกรรมฯดังกล่าว ณ ห้องประชุมสมเจตน์ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมมือกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA)ลดมลพิษด้านกลิ่นให้กับชุมชนพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ผ่านนวัตกรรมสมัยใหม่“เครื่องเก็บตัวอย่างกลิ่น (Mini-Canister)”พร้อมดึงความร่วมมือชุมชนเฝ้าระวัง สร้างความเชื่อมั่นให้ชุมชน - โรงงานในข้อมูลสารเคมี/มลพิษ เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดียิ่งขึ้น นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.มีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่ได้นำระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register หรือที่เรียกโดยย่อว่า ระบบ PRTR : คือฐานข้อมูลที่แสดงถึงชนิดและปริมาณของมลพิษที่มีการปลดปล่อยจากแหล่งกำเนิดสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งด้านอากาศ ดิน และน้ำ) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดย กนอ.มุ่งมั่นผลักดันให้การดำเนินงานดังกล่าวประสบความสำเร็จด้วยดีภายใต้ความร่วมมือร่วมใจกันของทุกภาคส่วน โดยได้เข้าร่วมการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (The Development of Basic Schemes for PRTR System in the Kingdom of Thailand) ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) วัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาระบบ PRTR ต้นแบบที่มีความเหมาะสมกับประเทศไทย โดยสร้างระบบฐานข้อมูลที่แสดงถึงชนิดและปริมาณของมลพิษที่มีการปลดปล่อยจากแหล่งกำเนิดสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งด้านอากาศ ดิน น้ำ รวมถึงข้อมูลปริมาณการเคลื่อนย้ายน้ำเสียหรือของเสียออกนอกสถานประกอบการเพื่อบำบัดหรือกำจัดอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ กนอ.นำร่องใช้ระบบ PRTR ในพื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และสมุทรปราการ โดยชุมชนจะรับทราบข้อมูลจากระบบ PRTR และการจัดการด้านสารเคมี ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในแง่ของ“การเปิดเผยข้อมูล - การมีส่วนร่วมของประชาชน - การส่งเสริมการจัดการโดยสมัครใจ” ที่จะนำมาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและภาคอุตสาหกรรม และในที่นี้โครงการ PRTR สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักการ “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” ซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อสื่อสารให้ชุมชนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการจัดการสารเคมีในพื้นที่ได้ในที่สุด “ปัจจุบันพื้นที่มาบตาพุดมีการรายงานและเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีต่อสาธารณะ เช่น การตรวจสอบสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เป็นประจำทุกเดือนตามสถานที่ต่างๆ โดยรอบ อย่างไรก็ตาม ชุมชนส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าสารเคมีชนิดใดที่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องกลิ่นต่างๆ ซึ่งปัญหาเรื่องกลิ่นเป็นเหตุการณ์ที่มักจะเกิดในระยะสั้นและคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเกิดเมื่อใด ดังนั้น คนในชุมชนที่สัมผัสกลิ่นจึงเป็นผู้ให้ข้อมูลได้ดีที่สุด ในการนี้ กนอ. และ JICA ได้ร่วมกันดำเนินโครงการ “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการติดตามตรวจสอบกลิ่น” มุ่งเป้าให้ชุมชนมีส่วนร่วมตรวจสอบกลิ่น โดยให้ผู้แทนชุมชนดำเนินการเก็บตัวอย่างกลิ่นด้วยเครื่องมือ Mini-Canister Grab Sampling และนำไปวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ และมีการแจ้งไปยังเครือข่ายเฝ้าระวังเพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุและแก้ปัญหาร่วมกัน ผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าวทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหากลิ่น และแนวทางการจัดการปัญหากลิ่นได้ดียิ่งขึ้น”นางสาวสมจิณณ์ พิลึก กล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อการดำเนินงานโครงการดังกล่าวฯได้เสร็จสิ้นลงตามกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน ผู้แทนจาก JICA (Mr. Munehiro Fukuda) ได้แจ้งว่าทาง JICA ประสงค์ที่จะให้ความร่วมมือต่อเนื่อง โดยร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และชุมชนรอบข้าง ในการเฝ้าระวังปัญหากลิ่นที่อาจเกิดขึ้น โดยได้มอบเครื่องมือ Mini-Canister Grab Sampling จำนวน 14 ชุด ให้แก่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความร่วมมือให้ชุมชนเฝ้าระวังปัญหามลพิษด้านกลิ่นบริเวณชุมชนรอบพื้นที่ ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้โรงงานและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข”นางสาวสมจิณณ์ พิลึก กล่าว สำหรับการระยะเวลาการดำเนินโครงการฯใช้เวลา 15 เดือน (ตั้งแต่กันยายน 2562 – พฤศจิกายน 2563) ในชุมชนเป้าหมาย 3 แห่ง ได้แก่ ชุมชนบ้านพลง ชุมชนตากวน และชุมชนหนองแฟบ อำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง เนื่องจากทั้ง 3 ชุมชนนี้มีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านกลิ่นค่อนข้างสูง โดยมีระยะเวลาการเก็บตัวอย่างระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม พ.ศ. 2563 เนื่องจากเป็นช่วงที่มีสถิติการร้องเรียนด้านกลิ่นค่อนข้างสูง พร้อมทั้งอบรมการใช้อุปกรณ์การเก็บตัวอย่างให้แก่ตัวแทนชุมชน ที่คัดเลือกไว้ มีการทบทวน (Refresh Training) ให้กับผู้ที่จะดำเนินการเก็บตัวอย่าง โดยหลังจากการดำเนินการเก็บตัวอย่าง และห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ผลเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงได้ให้เผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ให้กับประชาชนและผู้ที่สนใจและเกี่ยวข้องได้รับทราบ “การนำร่องในพื้นที่มาบตาพุด เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการประกอบกิจการอุตสาหกรรม 4 ประเภท ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมยานยนต์ โดย กนอ. ได้คาดหวังที่จะเพิ่มเป้าหมายในอุตสาหกรรมอื่นๆ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ เข้าร่วมในอนาคต” ผู้ว่าการ กนอ.กล่าวปิดท้าย
ประเภท: คลังภาพ
เมนู: ภาพกิจกรรม
Image Icon
1
Image Icon
0
Icon
21
09.2564
วันที่ 19 กันยายน 2563
14 องค์กร ผนึกกำลังเก็บขยะชายหาดระยอง สร้างจิตสำนึกขยะคือทรัพยากร เนื่องในวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล ปีที่ 18 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จับมือผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและบ้านฉาง จัดกิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล จังหวัดระยอง ประจำปี 2563 มุ่งสร้างจิตสำนึกขยะคือทรัพยากรเพื่อการทิ้งขยะอย่างถูกที่และคัดแยกให้ถูกประเภท รวมพลังประชาชนจิตอาสากว่า 2,000 คน จัดสรรพื้นที่เก็บขยะชายฝั่ง ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)รวม 24 จุดที่สำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงตามมาตรการป้องกันโควิด-19 เก็บขยะชายหาด และนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยขยะที่รีไซเคิลได้ อาทิ พลาสติก แก้ว และโลหะ ที่เก็บได้ในงาน จะนำไปบริจาคให้แก่ธนาคารขยะของโรงเรียนในพื้นที่เพื่อเป็นกองทุนธนาคารขะรีไซเคิล และส่งต่อให้กับโรงงานรีไซเคิลนำกลับไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นทรัพยากรใหม่ หรือ Upcycling ส่วนขยะประเภทอื่น ๆ เช่น ขยะอันตรายและขยะทั่วไปเทศบาลแต่ละพื้นที่จะรวบรวมส่งไปยังศูนย์กำจัดขยะครบวงจรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานและปุ๋ยเพื่อการเกษตรต่อไป ภายในงานมีการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกและบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อป้องกันการหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม มุ่งแก้ปัญหาขยะในทะเลอย่างยั่งยืน จากปัญหาขยะในทะเลซึ่งกระทบต่อความสมดุลทางธรรมชาติ ทั่วโลกจึงได้เกิดการรวมพลังประชาชนจิตอาสาร่วมทำความสะอาดเก็บขยะชายหาดระดับโลกในวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล หรือ International Costal Cleanup (ICC Day) โดยจัดพร้อมกันทั่วโลก ทุกวันเสาร์ที่ 3 ในเดือนกันยายนของทุกปี สำหรับประเทศไทย ในจังหวัดระยอง ในปีนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 18 ระยะทางกว่า 20 กิโลเมตร ณ บริเวณชายหาดแหลมเจริญ-หาดแสงจันทร์-หาดสุชาดา อำเภอเมือง และบริเวณหาดน้ำริน-หาดพยูน-หาดพลา อำเภอบ้านฉาง รวมพื้นที่ 24 จุด ซึ่งแต่ละจุดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดระยอง ภายใต้เคมเปญ #PullingOurWeight ซึ่งหมายถึงการรวบรวมปริมาณขยะที่หลุดรอดสู่ท้องทะเลกลับคืนมาเข้าสู่วงจรการบริหารจัดการขยะที่เหมาะสมและครบวงจร และ #CleanOn หมายถึงการร่วมกันปกป้องทะเลได้ โดยการเริ่มลดขยะตั้งแต่ต้นทาง และเก็บขยะจากพื้นที่เล็ก ๆ ของตนเอง เพื่อความปลอดภัยในด้านสุขภาพและยังคงได้ร่วมอนุรักษ์ชายฝั่ง และมหาสมุทรให้ปลอดขยะ นายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (สทช.1) กล่าวว่า “ยินดีที่ได้ช่วยสร้างให้คนระยองตระหนักถึงปัญหา ความท้าทาย และโอกาส รวมถึงผลกระทบของขยะในทะเล ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยผลักดันให้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2565 ที่ต้องการจะนำพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2570 เป็นไปได้ง่ายขึ้น หากสามารถขยายผลจากกิจกรรมในวันนี้ ให้ต่อเนื่อง และได้แก้ไขตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนไปพร้อม ๆ กัน” คุณกชพร ต้อยสำราญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กล่าวว่า “กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่รวมตัวกันทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อชายฝั่งทะเลอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถนำขยะรีไซเคิลไปใช้ประโยชน์ต่อแก่เยาวชนในพื้นที่ โดยนำไปกำจัดให้ถูกวิธี หรือนำไปหมุนเวียนใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความร่วมมือที่จะช่วยแก้ไขปัญหาขยะในทะเลของประเทศได้” ระยอง ถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ทั้งยังเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยม ระยองมีปริมาณขยะทั้งจังหวัดต่อเดือนเฉลี่ย 30,000 ตัน คิดเป็นขยะพลาสติกประมาณ 9,000 ตัน หรือประมาณ 30% ของขยะทั้งหมด มีโอกาสที่ขยะดังกล่าวจะหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อมและชายหาดต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญซึ่งสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประเทศ จึงมีความสำคัญอย่างมากที่ทุกฝ่ายต้องร่วมด้วยช่วยกันคัดแยกและบริหารจัดการขยะอย่างเหมาะสม นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า “กิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากลมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนแผนพัฒนาจังหวัดด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม และสร้างจิตสำนึกในด้านการจัดการคัดแยกขยะ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางระยองโมเดลที่มีเป้าหมายจะลดขยะพลาสติกที่ออกสู่สิ่งแวดล้อมให้หมดไปภายใน 5 ปี ซึ่งนอกจากจะช่วยด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว” ภายในงานปีนี้ ยังมีการจัดบูทนิทรรศการให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งจัดแสดงโครงการที่นำขยะเวียนกลับมาใช้ให้เกิดคุณค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมมีเยาวชนคนรุ่นใหม่ ได้มาร่วมกิจกรรมและสื่อสารข้อความที่จะช่วยโลกด้วยการจัดการขยะ อีกด้วย ตลอด 18 ปี ของกิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล จังหวัดระยอง ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการ หน่วยงาน ประชาชนในและนอกพื้นที่ให้ความสนใจเข้าร่วมเพิ่มขึ้นทุกปี สามารถเก็บขยะได้แล้วกว่า 9 แสนชิ้น รวมน้ำหนักทั้งสิ้นกว่า 98,000 กิโลกรัม โดยข้อมูลของขยะที่เก็บได้จะถูกส่งไปยังองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรวบรวมกับข้อมูลของประเทศอื่น ๆ ในการแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหาการลดปริมาณขยะ และสร้างจิตสำนึกการพัฒนาสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งของโลกอย่างยั่งยืน รายชื่อ 14 องค์กรที่ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล จังหวัดระยอง ปีที่ 17 1) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2) กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 3) ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี 4) บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) 5) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง 6) บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด 7) บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) 8) บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ์ จำกัด 9) บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) 10) บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) 11) บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด 12) กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย 13)กลุ่มบริษัทโซลเวย์ 14)บริษัท เอ็นเอส-สยามยูไนเต็ดสตีล จำกัด
ประเภท: คลังภาพ
เมนู: ภาพกิจกรรม
Image Icon
0
Image Icon
0
Icon
21
09.2564
วันที่ 26 มิถุนายน 2563
สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เข้าร่วมกิจกรรม ธุรกิจเคมิคอลส์เอสซีจี ในการจัดอบรมเรื่องการจัดการขยะในโรงเรียน ภายใต้โครงการ ‘ชุมชน LIKE (ไร้)ขยะ’ ให้กับครูโรงเรียนวัดชากลูกหญ้า ส่งเสริมพฤติกรรม ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี โดย นายกฤษดา เรืองโชติวิทย์ Circular Economy Manager นายสมชาย หงษ์สุวรรณ CSR Manager พร้อมด้วยทีม Waste Management และทีมงานที่พัฒนาแอปพลิเคชัน Koomkah (คุ้มค่า) ได้จัดอบรมเชิงปฏบัติการเกี่ยวกับการจัดการขยะในโรงเรียนภายใต้โครงการ ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ ให้กับคณาจารย์โรงเรียนวัดชากลูกหญ้า จ.ระยอง ซึ่งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและคุณค่าที่เกิดจากการคัดแยกขยะด้วย 3 พฤติกรรม คือ ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก รวมถึงการแยกขยะเปียก ขยะแห้ง แล้วแยกตามประเภทที่ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ขยะแต่ละประเภทถูกนำไปใประโยชน์ได้มากที่สุด ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดการถูกนำไปฝังกลบ และลดอัตราการหลุดรอดของขยะออกไปสู่สิ่งแวดล้อม โดยการอบรมในครั้งนี้ เหล่าคณาจารย์โรงเรียนวัดชากลูกหญ้าสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดต่อให้กับนักเรียนในโรงเรียนเพื่อเป็นการปลูกฝังในเรื่องของการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ อันจะเป็นประโยขน์ต่อตัวเองและสังคมต่อไป
ประเภท: คลังภาพ
เมนู: ภาพกิจกรรม
Image Icon
0
Image Icon
0
Icon
19
09.2564
วันที่ 30 มกราคม 2563
คณะกรรมการ กนอ. นำโดยท่านปลัดกอบชัยฯ ประธานกรรมการ กนอ. เยี่ยมชมการดำเนินงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง วันที่30 มกราคม 2563 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานกรรมการ กนอ. คณะกรรมการ กนอ. พร้อมด้วย นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมี คณะผู้บริหารสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และคณะผู้บริหารนิคมและท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ให้การต้อนรับ ณ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง สำหรับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ประกอบด้วยกลุ่มนิคมฯ ในพื้นที่ จำนวน 5 นิคมฯ และท่าเรืออุตสาหกรรมให้บริการ 12 ท่า แบ่งเป็นท่าเรือสาธารณะ 3 ท่า และท่าเรือเฉพาะกิจ 9 ท่า มีโรงงาน 151 โรงงาน โดยมีประเภทของอุตสาหกรรม อาทิ ปิโตรเคมีขั้นต้น ปิโตรเคมีขั้นกลาง ปิโตรเคมีขั้นปลาย ก๊าซ เคมีภัณฑ์ โรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน เหล็ก และอื่นๆ
ประเภท: คลังภาพ
เมนู: ภาพกิจกรรม
Image Icon
0
Image Icon
0
Banner Border